สังฆทาน แยกเป็น 2 คำ ได้แก่ ”สังฆะ” และ ”ทาน” โดย (สังฆะ) หมายถึง ภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ (ทาน) หมายถึง การให้, แบ่งปัน, แจกจ่ายวัตถุสิ่งของปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เมื่อรวมความหมายแล้ว “สังฆทาน” จึงหมายถึง การถวายวัตถุปัจจัยแก่พระภิกษุรูปหนึ่งโดยความตั้งใจอุทิศให้เป็นของ (หมู่พระภิกษุหรือสงฆ์ทั้งปวง) ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการสนับสนุนให้ชาวพุทธไม่นำเอาพระพุทธศาสนาไปผูกติดไว้กับบุคคล เพราะบุคคลนั้นไม่แน่นอน
ฉะนั้นแล้วการตั้งใจถวายเครื่องสังฆทานแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” เราไม่เรียกว่าเป็นการถวายสังฆทานเพราะทานเช่นนี้ยังไม่ช่วยทำให้จิตใจห่างจากความยึดติดถือมั่น แต่กระนั้นก็ยังถือว่าเป็นทานที่ควรทำอยู่เพราะเหตุว่าถือเป็นการฝึกให้ปัจเจกบุคคลรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม
หากพูดถึงการถวายสังฆทานมีที่มาอย่างไร เพราะมันมีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี (พระแม่น้า) ต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยอรรถาธิบายว่า การถวายแก่สงฆ์ย่อมให้อานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงถือกันว่า การถวายสังฆทาน เป็นมหาทานที่ทำให้มีอานิสงส์มาก บทความจากเว็บชุดสังฆทานออนไลน์ บารมีบุญ
Post navigation